ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

พญาเทียน วัดผาสุการาม 2562

พญาเทียน วัดผาสุการาม

ต้นเทียนพรรษา ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทแกะสลัก (ขนาดใหญ่) ประจำปี 2562

พญาครุฑมีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนแห่งความเจริญรุ่งเรือง มีอำนาต ที่สำคัญเป็นตราแผ่นดินของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ ซึ่งมีลายประกอบตามปีกและลำตัว คือลายนาคขบและลายกนก

พระแม่ธรณี(พระแม่ธรณีหลั่งมวยผม) ซึ่งสื่อถึงตราสัญลักษณ์ของอำเภอวารินชำราบ ที่เป็นเมืองแห่งน้ำ หมายความถึง มีน้ำไหลตลอดไม่มีขาด ซึ่งข้อเท็จจริงในเขตเทศบาลเมืองมีลำธารเล็กๆ เรียกว่า “คำน้ำแซบ” ไหลผ่านยุตลอดชั่วนาตาปีก่อให้เกิดความสมบูรณ์ แก่ท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปได้ใช้ประดยชน์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “น้ำโจ้ก”

ตราพระบรมราชาภิเษกของในหลวงรัชกลที่ 10 ซึ่งปี 2562 เป็นปีมหามงคลเนื่องในโอกาสพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก

ช้าง 4 เศียรชูดอกบัวรองรับต้นเทียน ซึ่งช้างเป็นสัญลักษณ์แห่งพระบารมีของพระมหากษัตริย์ โดยในอดีตเป็นราชพาหนะสำคัญที่ขาดไม่ได้ และดอกบัวมีความหมายถึงแผ่นดิน และความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี

พระพุทธเจ้าประทับไสยาสน์เพื่อเสด็จดับขันปรินิพพาน หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดสภัททปริพาชก ซึ่งเป็นสาวกองค์สุดท้ายที่ทันเห็นพระพุทธองค์

พญานาค 7 เศียรหรืออนันตนาคราชเป็นเจ้าแห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทพลักษณะทรงอำนาจสูงศักดิ์ มีลักษณะพิเศษ คือมี 7 เศียร

พญาเทียนต้นจริงมีความยาวจากหน้าไปหลัง 18 เมตร ความสูง 5 เมตร น้ำหนักรวมทั้งหมด 12 ตัน

พญาเทียนจำลอง ทำจากวัสดุเรซิ่น

ช่างเทียน

  1. นายอดุม เจนจบ (ช่างใหญ่)
  2. นายศุภนัฐ เจนจบ (หัวหน้าช่าง)
  3. นายชัยนันท์ เทพมณี
  4. นายอดิศร สุริยะรังสี
  5. นายเสกสรร กันตะบุตร
  6. นายอภิสิทธิ์ นวมเข้าเม่า
  7. นายสกลชัย แสนสกุล
  8. นางนิภาพภร อ่อนดี
  9. นางหฤทัย อ่อนดี
  10. นางสาวสุวโรจนันท์ วงศ์ขันธ์
  11. นางสาวอุมาพร เจนจบ